วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ที่มาและความสำคัญ

   
  โครงงานเรื่อง เครื่องชาร์จโทรศัพท์มือถือจากการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาหลักการทำงานของ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากไดนาโม และประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่เป็นทางเลือกในการใช้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบใหม่ โดยเริ่มจากศึกษาการเกิดพลังงานไฟฟ้าด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไดนาโม ที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของขดลวดบนสนามแม่เหล็กจนได้กระแสไฟฟ้า โดยทั่วไปวิธีในการเหนี่ยวนำไฟฟ้าจะเป็นการหมุนขดลวดให้ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งานจึงติดตั้งคันโยกซึ่งใช้หลักการทางฟิสิกส์ และเฟืองเพื่อเพิ่มจำนวนรอบในการหมุน โดยมีการโยกคันโยก 1 ครั้งจะหมุนไดนาโมได้ 60 รอบและให้กระแสไฟฟ้า 250 mA ถ้าหมุนไดนาโมด้วยอัตราเร็ว 2400 รอบ/ชั่วโมง เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จะได้กระแสไฟฟ้าเท่ากับถ่านขนาด AAA 1 ก้อน โดยเริ่มทดลองจากสภาวะเริ้มต้นซึ่งไม่มีค่าความต่างศักย์ พบว่าเมื่อหมุนไดนาโมเป็นเวลา 10 วินาทีค่าความต่างศักย์จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อใช้เวลานานมากขึ้นค่าความต่างศักย์ที่ได้จะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งค่าความต่างศักย์ที่สามารถนำมาใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือมีความต่างศักย์
ที่ 1.2 โวลต์เป็นต้นไป จึงจำเป็นที่จะต้องหมุนไดนาโมอย่างน้อย 40 วินาที จะทำให้ใช้งานในวงจรไฟฟ้าได้   






เอกสารที่เกี่ยวข้อง

   สนามแม่เหล็ก

การเรียงตัวเป็นเส้นของผงตะไบเหล็ก 





สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs) จะหมายถึง


เส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มี

ความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบ

วัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและ

สนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF)





มอเตอร์



                                                            การทำงานของมอเตอร์
                                               




มอเตอร์ (Motor) เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ประกอบด้วยขดลวดที่พันรอบแกนโลหะที่วางอยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็ก โดยเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังขดลวดที่อยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็ก จะทำให้ขดลวดหมุนไปรอบแกน และเมื่อสลับขั้วไฟฟ้า การหมุนของขดลวดจะหมุนกลับทิศทางเดิม





ไดนาโม



การทำงานของไดนาโม

       เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือไดนาโม สามารถเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า ใช้หลักการเหมือนกับแรงกระทำบนขดลวด เพียงแต่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลเท่านั้นเองประกอบด้วยขดลวดเหนี่ยวนำเคลื่อนที่สัมพัทธ์กับแท่งแม่เหล็ก โดยอาศัยการเหนี่ยวนำในขดลวดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึงสามารถจัดกระแสไฟได้สองแบบคือกระแสตรง และกระแสสลับ พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน







 วัสดุอุปกรณ์และวิธีทำ


   วัสดุอุปกรณ์                                                                  
3.1.1   ไม้ถูพื้นแบบหมุน                                                    
3.1.2    ขดลวด
3.1.3    แม่เหล็ก
3.1.4    แบตเตอรี่
3.1.5    สายไฟ
3.1.6    ตัวเก็บประจุ
3.1.7    light-emitting diode ( LED)
3.1.8    Polyvinyl chloride (PVC)
3.1.9    แผ่นเหล็กแบน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
3.1.10  แผ่นเหล็ก
3.1.11  สกรูเจาะไม้
3.1.12  ถังไม้ถูพื้นแบบหมุน 

   วิธีทำ



  1. ขั้นตอนการสร้างเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้หลักการสร้างเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานคนเพื่อชาร์ตแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือแทนการใช้ไฟฟ้าแบบเดิม  สร้างโดยใช้วัสดุที่เลือกจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่หมดสภาพการใช้งานแล้วหลายๆชิ้น มาปรับปรุงประกอบเป็นเครื่องผลิดกระแสไฟฟ้า นำชิ้นส่วนเครื่องถูพื้นมาประดิษฐ์ ปรับปรุง ดัดแปลงเป็นเครื่องเปลี่ยนแรงงานคนเป็นแรงหมุนมอเตอร์ที่มีรอบการหมุนตามที่คำนวณจำนวนรอบต่อวินาที่ไว้ ดังรูป



                                                                               
2.
นำชิ้นส่วนของสว่านมือเจาะไม้  คือใช้เฟืองทดรอบ นำมาใช้ปรัปปรุง เปลี่ยนเป็นตัวเพิ่มรอบของการหมุนให้สูงขึ้นและเปลี่ยนทิศทางของการหมุน




                                                 3. นำมอเตอร์จากรถแข่งของเด็กเล่น  มาปรับปรุงเป็นเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า ( ไดนาโม)



               
 4 .ใช้อุปกรณ์อื่นประกอบจนเป็นเครื่องผลิตไฟฟ้ากระแสตรงที่สามารถชาร์ตแบตเตอรีได้
  






การทดลอง

              การทดลองที่3 "วัดปริมาณกระแสที่ได้"
1.  นำตัวเก็บประจุ ประกอบเข้าในวงจรของอุปกรณ์ โดยการต่อสายไฟจากไดนาโมเข้าสู่ตัวเก็บประจุ
2.  ทดลองใช้อุปกรณ์ โดยการกดคันโยก 1 ครั้ง เพื่อให้ไดนาโมหมุน
3. วัดกระแสไฟฟ้าที่เครื่องสามารถผลิตได้จากในข้อที่ 2 จากกระแสไฟฟ้าที่ถูกนำไปเก็บในตัวเก็บประจุ         วัดจำนวนทดรอบของการใช้อุปกรณ์ 1 ครั้ง

               การทดลองที่2 “การทดลองหาเวลาการประจุในตัวเก็บประจุ โดยพิจารณาจากความต่างศักย์”
1. ทำการโยกคันโยก โดยหมุนไดนาโมด้วยอัตราเร็ว 2400 รอบ/ชั่วโมง
2. จับเวลาทุก 10 วินาที ทำการวัดค่าความต่างศักย์ที่เปลี่ยนไป โดยวัดที่ค่าความต่างศักย์ที่
    คล่อมตัวเก็บประจุในวงจร
      การทดลองที่3“ทดลองนำอุปกรณ์ ไปใช้งานโดยการประกอบเข้ากับวงจร และสามารถชาร์จโทรศัพท์มือถือได้”
1. นำอุปกรณ์ประกอบเข้ากับวงจร วงจรสามารถเปลี่ยนกระแสไฟฟ้ากระแสตรง                         
    จนสามารถนำไป ชาร์จโทรศัพท์ได้
2. กดคันโยกของอุปกรณ์ วัดค่าไฟที่ได้จากการโยก โดยวัดที่ตัวเก็บประจุของวงจร
3. ประเมินผลเฉลี่ยจำนวนครั้ง ที่จะสามารถนำไฟฟ้ามาใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ได้




      ผลการทดลอง

ผลการทดลองที่1



ศึกษาปริมาณกระแสไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้จากการโยก 1 ครั้งเพื่อหาปริมาณกระแสไฟฟ้า จำนวนรอบในการหมุนไดนาโม และอัตราการทดรอบในการหมุนไดนาโม พบว่า เฟืองซึ่งมีอัตราทดรอบอยู่ที่ 1ต่อ 20 รอบโดยเมื่อกดคันโยกลง 1 ครั้งจะสามารถหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ถึง 60 รอบ กระแสไฟที่ได้ 250 mA 
               

ผลการทดลองที่2
         จากการทดลองวัดค่าความต่างศักดิ์ที่คล่อมตัวเก็บประจุ เทียบกับเวลาผลแสดงออกมาว่า ในเริ่มต้นของการหมุนไดนาโมจะพบค่าต่างศักย์ จะมีการเพิ่มที่มาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปค่าความต่างศักย์ที่เพิ่มจะเพิ่มขึ้นน้อยลง



การทดลองที่ 3
    ทดลองนำอุปกรณ์ไปต่อกับหม้อแปลง แล้วนำไปชาร์จไฟโทรศัพท์ จะพบว่าไฟฟ้าที่นำไปชาร์จโทรศัพท์ จะต้องทำการหมุนไดนาโม เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จะได้กระแสไฟที่จะนำมาชาร์จเข้าโทรศัพท์ได้ 1 ชั่วโมง ค่าความต่างศักย์ในตัวเก็บประจุ จะต้องมีค่าอยู่ที่ 1.2 โวลต์ จะสามารถทำให้แรงขับไฟฟ้ามากพอที่จะทำให้กระแสไฟฟ้า ไหลเข้าสู่แบตเตอรี่โทรศัพท์ได้ 


          ประโยชน์ของโครงงาน



1.  เพื่อลดความลำบากในยามที่ไม่มีไฟฟ้า
2.  เพื่อศึกษาวงจรไฟฟ้าที่สามารถนำมาใช้ได้จริง
3.  เพื่อที่จะสามรถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทุกที่
4.  เพื่อเป็นนวัตกรรมใหม่และสามารถผลิตใช้เองได้ในประเทศ

โปรแกรมคำนาณเวลาที่ต้องโยกเครื่องชาร์จ

Enter Time for charge




Time for making machine







วีดีโอนำเสนอ




     เอกสารอ้างอิง

http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/58/inductor-faraday2.htm
http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/56/magnetic%20field.htm 
http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/57/inductor%20faraday.htm 



อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ : อ.จิรัฏฐา ทองแก้ว
อาจารย์ที่ปรึกษาคอมพิวเตอร์ : อ.จิรัฎฐ์  พงษ์ทองเมือง

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
Princess Chulabhorn's College,Nakhon Si Thammarat
(Chulabhorn  Science High  School)

ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ